top of page
รูปภาพนักเขียนHealthy Solutions

ทำไมภาษีป้ายคลินิกถึงแพง?



นักธุรกิจรวมถึงคุณหมอหลายท่านอาจกำลังเผชิญปัญหาการตัดสินใจในช่วงแรกเริ่มเปิดคลินิก เกี่ยวกับเรื่องป้ายประจำคลินิกของคุณ เพราะสิ่งที่ต้องคิดคำนึงคู่กับความสวยงาม คือเรื่องภาษีป้ายที่คุณต้องเสีย ภาษาที่จะใช้ ค่าใช้จ่ายที่ต้องคำนวน และความแตกต่างกันของป้ายแต่ละประเภท ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเรื่องอัตราภาษีป้ายกันก่อน


อัตราภาษีป้าย หลักๆ มี 3 ประเภท

1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน

2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ

3. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย


โดยแต่ละประเภทของป้ายที่มีรูปแบบอักษรแตกต่างกัน จะมี 2 อัตราภาษี แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะป้าย คือ แบบป้ายคงที่ และ แบบป้ายไม่คงที่ โดยพิจารณาลักษณะป้ายประเภทป้าย ดังนี้


แบบป้ายคงที่ คือ ป้ายที่ไม่เคลื่อนที่และไม่สามารถเปลี่ยนได้หมายถึงลักษณะของป้ายโฆษณา นิ่งอยู่กับที่ เช่น ป้ายโปสเตอร์, ป้ายไวนิล ป้ายกล่องไฟ (โฆษณากระพริบอยู่กับที่), ป้ายจอ LED (โฆษณานิ่งอยู่กับที่), ป้าย Banner (โฆษณานิ่งอยู่กับที่), ป้ายติดบนรถสาธารณะ (โฆษณานิ่งอยู่กับที่) เป็นต้น


แบบป้ายไม่คงที่ คือ ป้ายที่มีข้อความที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้

คำว่า “เคลื่อนที่” หมายถึง ลักษณะของป้ายมีการเปลี่ยนตำแหน่งหรือ ทิศทางของข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพจากทิศหนึ่งไปยังอีกทิศหนึ่ง เช่น จากซ้ายไปขวาจากบนลงล่าง เป็นต้น โดยยังคงโฆษณาข้อความ เครื่องหมาย หรือ ภาพเดิม ตัวอย่างของป้ายที่เคลื่อนที่ได้เช่น ป้ายอักษรวิ่ง, ป้ายที่มีแกนหมุนได้ (ข้อความเคลื่อนที่ตามกลไกของป้ายซึ่งเคลื่อนที่ได้), ป้ายจอภาพโฆษณา (ข้อความโฆษณาเคลื่อนที่), ป้ายกล่องไฟ (ข้อความโฆษณาเคลื่อนที่), ป้ายจอ LED (ข้อความโฆษณาเคลื่อนที่) เป็นต้น

คำว่า “เปลี่ยนได้” หมายถึงลักษณะของป้ายมีการเปลี่ยนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพ ได้มากกว่าหนึ่งข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพ ตัวอย่างป้ายที่สามารถเปลี่ยนได้ เช่น ป้ายพลิกสลับ (ไตรวิชั่น), ป้ายจอภาพโฆษณา (เปลี่ยนข้อความโฆษณา), ป้ายกล่องไฟ (เปลี่ยนข้อความโฆษณา) เป็นต้น


 

1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน

  • แบบคงที่: ลักษณะป้ายที่ไม่เคลื่อนที่และไม่เปลี่ยนข้อความ อัตราภาษี 5 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

  • แบบไม่คงที่: ลักษณะป้ายแบบเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนข้อความได้ อัตราภาษี 10 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

ตัวอย่างดังภาพ


 

2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น

  • แบบคงที่: อักษรไทยปนกับภาษาอังกฤษ หรือปนเครื่องหมายอื่นหรือปนรูปภาพที่เคลื่อนที่ไม่ได้ อัตราภาษี 26 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

  • แบบไม่คงที่: ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษี 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

ตัวอย่างดังภาพ


 

3. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

  • แบบคงที่: อักษรไทยปนกับภาษาอังกฤษ หรือปนเครื่องหมายอื่นหรือปนรูปภาพที่เคลื่อนที่ไม่ได้ อัตราภาษี 50 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

  • แบบไม่คงที่: ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษี 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

ตัวอย่างดังภาพ

3. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

 

วิธีการคำนวณภาษีป้าย


สูตรการคำนวณ

1. พื้นที่ของป้าย (ตารางเซนติเมตร) = (กว้าง X ยาว)/500 ตารางเซนติเมตร


2. ภาษีป้ายที่ต้องเสีย = พื้นที่ของป้าย (ตารางเซนติเมตร) X อัตราภาษี


ระยะเวลา

ยื่นแบบ : ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

ชำระภาษี : ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน

ค่าปรับ : ไม่มายื่นแบบตามกำหนด ปรับ 5,000 – 50,000 บาท

เงินเพิ่ม : ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันรับแจ้งประเมิน คิดเงินเพิ่ม 2% ของค่าภาษีต่อเดือน

ผู้เสียภาษี : เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้าย


ช่องทางชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ชำระภาษี ณ สำนักงานเขต / องค์การบริหารส่วนตำบล / เทศบาล เขตพื้นที่ของท่าน


 

ป้ายคลินิกส่วนใหญ่นําโลโก้และภาษาอังกฤษ ไม่มีภาษาไทยอยู่ในป้าย ดังนั้น ป้ายคลินิกส่วนใหญ่ จึงจัดอยู่ในประเภทที่ 3 ซึ่งอัตราการเสียภาษี จะมากกว่าประเภทอื่นๆ นั่นเอง


หากต้องการให้เสียภาษีป้ายที่ต่ําลง ควรทําป้ายคลินิกให้อยู่ในแบบที่ 1 และ 2

ด้วยการเพิ่มอักษรไทยอยู่ในป้ายนั่นเอง ลองปรับใช้กับคลินิกของคุณดูนะคะ


ดู 20 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page